วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

การเลี้ยงกุ้งขาว

โครงงานเรื่อง การเลี้ยงกุ้งขาว


การเลี้ยงกุ้งขาว
อุปกรณ์การเลี้ยง
1.บ่อเลี้ยง
2.ลูกกุ้ง
3.อาหาร
4.น้ำ
5.ใบพัดตีน้ำ
6.และอื่นๆ
ขนาดบ่อที่เลี้ยงประมาณ 1 ไร่ 2 งาน
ปล่อยลูกกุ้งครั้งแรก 100,000 ตัว
อัตราความหนาแน่นจึงอยู่ที่ 40 ตัว/ตารางเมตร และใช้ลูกกุ้งชุดหลังๆ
ราคาจึงตกอยู่ที่ 13 สตางค์
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องศึกษาถึงสายพันธุ์ของลูกกุ้งด้วย
บางครั้งสายพันธุ์ไม่ดีหรือเป็นลูกกุ้งที่เป็นรุ่นหลังๆ
มากเกินไปก็อาจะเลี้ยงไม่ได้ผล
จะนำน้ำเข้าบ่อก่อนเลี้ยงประมาณ 10 วัน
เพราะนิสัยเพราะกุ้งขาวจะมีนิสัยกินอาหารอยู่ตลอด
จึงต้องเตรียมอาหารธรรมชาติในบ่อให้มากที่สุด
และเมื่อลงกุ้งไปแล้ว 3-5 วันแรกจะไม่ให้อาหาร
หลังจากนั้นก็ค่อยให้วันละ 2 มื้อ
ผ่านไปประมาณ 1 เดือน
จึงเริ่มคลุกวิตามินซีเสริมให้กุ้งอีก 1 สัปดาห์
จากนั้นก็หยุดอีก 15 วัน และให้อีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
แต่เรื่องสารเคมีนั้นจะไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องเลย
การให้อาหารจะต้องสังเกตกุ้งอยู่เสมอ
ซึ่งถ้าหากให้อาหารมากเกินไปจะทำให้กุ้งหัวแตก
ต้องให้ปริมาณที่พอดี
ถ้าอาหารในธรรมชาติมีมากพอแล้วก็ควรจะให้อาหารเม็ด
ในปริมาณที่น้อย แต่จะไปเช็คที่ยอคงไม่ได้
เพราะกุ้งขาวมักจะคาบอาหารไปกินที่อื่น
ไม่กินอยู่กับที่เหมือนกุ้งกุลาดำ


โรคของกุ้งขาว
โรคที่สำคัญ โรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญของกุ้งขาว P. vannamei
1. โรคไวรัสทอร่า (Taura Syndrome virus)
2. โรคแคระแกร็น (RDS - Runt Defomity Syndrom )
3. โรคไวรัสจุดขาว (WSSV)
4. โรคไวรัสหัวเหลือง (Yellow-head Virus Disease)
5. โรคไวรัส Baculovirus penaei (BP)
6. โรค Reo-like virus (REO)



 การป้องกันและรักษา
ในอดีตงานวิจัยทางโรคสัตว์น้ำชี้แนะว่าต้องกำจัดเชื้อ IHHNV
ออกจากบ่อที่เกิดโรคให้หมดจึงจะลงมือเลี้ยงรุ่นต่อไป อย่างไรก็ดี
วิธีนี้ได้ผลน้อยมาก โดยการใช้ปูนขาวเพิ่ม pH
ให้สูงจนเชื้อไวรัสทนไม่ได้ และทำให้ปลอดเชื้อลง
แต่ปูนขาวกลับสร้างปัญหาอื่นตามมา
และได้ผลไม่แน่นอนอีกด้วย งานวิจัยใหม่ๆ
จึงแนะนำให้ตากบ่อเพื่อให้ความร้อนจากแสงแดดเป็นตัวฆ่าเชื้อแทน
ซึ่งก็ได้ผลดีกว่าการเพิ่ม pH โดยปูนขาว
การป้องกันแก้ไขโรคนี้ยังไม่มีวิธีที่เฉพาะเจาะจง
อาจเลือกทางหนึ่งก็คือเพาะกุ้งจากแม่กุ้งที่ปลอดเชื้อ
(Specific Pathogen-Free)
โดยเริ่มจากแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อผลิตออกมา
เป็นกุ้งพีและลงเลี้ยงบ่อดิน
ก็จะปลอดเชื้อเช่นกัน ซึ่งทำได้ไม่ยากเพราะแม่พันธุ์กุ้งขาว
P. vannamei สามารถเพาะได้ในบ่อดินโดยใช้เวลาไม่นานนัก
ซึ่งแม่พันธุ์ในบ่อเลี้ยง จะสามารถควบคุมให้ปลอดเชื้อได้ดีกว่าแม่พันธุ์
ที่จับมาจากทะเล



คุณลักษณะสำคัญของกุ้งขาวแวนนาไม ข้อดีของกุ้งขาวที่แตกต่างจากกุ้งกุลาดำ มีหลายประการ คือ

1. ทนต่อความเค็มได้ในช่วงกว้างตั้งแต่ 0.5 พีพีที ถึง 45 พีพีที
โดยจะมีการเจริญเติบโตได้ดีในช่วง 10-30 พีพีที

2. เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิกว้างคือ 24-32 องศาเซลเซียส
แต่จะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดในช่วง 28-30 องศาเซลเซียส

3. ทนต่อสภาพออกซิเจนต่ำได้ดี พบว่าแม้ออกซิเจนต่ำถึง 0.8 พีพีเอ็ม
เป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็ยังไม่ตายแต่การเจริญเติบโตจะดี
ถ้าออกซิเจนมีค่าตั้งแต่ 4 พีพีเอ็ม ขึ้นไป
4. พีเอชที่เหมาะสมคือ 7.0 - 8.5 ถ้าแม้ว่าพีเอชบางครั้งขึ้นสูง 10
ก็ยังไม่ตาย
5. ใช้อาหารโปรตีนต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง
นอกจากยังสามารถใช้อาหารธรรมชาติจากบ่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อัตราแลกเนื้อต่ำ
โดยทั่วไปถ้าให้อาหารถูกต้องจะต่ำกว่า 1.5
6. ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อสูงถึง 66 - 68% ( กุ้งกุลาดำให้เพียง 62% )
7. ตลาดมีความต้องการสูง และมีตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดอียู
และอเมริกา


ข้อควรระวังในการปล่อยลูกกุ้ง

           ในการปล่อยลูกกุ้งลงในบ่อเลี้ยงเกษตรกรมักจะนำถุงที่บรรจุลูกกุ้งลอยไว้ในบ่อเพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในบ่อ

เนื่องจากลูกกุ้งที่ขนส่งลำเลียงมาจากโรงเพาะฟักจะมีการปรับอุณหภูมิระหว่างการเดินทางไม่ให้สูงมาก เพื่อลดความเครียดของลูกกุ้ง  

ส่วนมากอุณหภูมิของน้ำในถุงที่บรรจุลูกกุ้งประมาณ 23-25 องศาเซลเซียส 

การลอยถุงใส่ลูกกุ้งในบ่อ  อย่าให้นานเกินไป เพราะเมื่ออุณหภูมิของน้ำในถุงอุ่นขึ้นเท่ากับในบ่อ ลูกกุ้งจะเริ่มปราดเปรียวว่องไว

 ลูกกุ้งตัวที่โตกว่าอาจจะกินตัวที่เล็กกว่า หรือทำอันตรายตัวที่เล็กกว่า จากการสังเกตถ้าปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงนานเกินไป  

และลูกกุ้งที่บรรจุในถุงมีขนาดแตกต่างกันมาก อัตรารอดมักจะต่ำกว่าปกติ












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น